เที่ยวอัมพวาแบบคนไม่มีรถส่วนตัว นั่งรถไฟไปตลาดร่มหุบ เริ่มต้นจากสถานีวงเวียนใหญ่ ปลายทางที่แม่กลอง ซึ่งในระหว่างเส้นทาง มีที่เที่ยวแบบใช้เวลาไม่มาก ใกล้สถานทีรถไฟ ช่วยเพิ่มประสบการณ์เดินทางให้มีเรื่องราวมากขึ้น โดยมีข้อควรระวังคือ คุณต้องเช็คกำหนดเวลาเดินรถไว้ให้ชัดเจนว่าแต่ละจุดที่จะแวะเที่ยวนั้น มีเวลาให้เราเท่าไหร่ ก่อนที่จะไปให้ถึงยังสถานีปลายทาง ณ. อัมพวา
ชุมชนโบราณตลาดพลู ย้อนไปสมัยกรุงธนบุรี บริเวณรองคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวงซึ่งในอดีตเคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม เป็นชุมชนใหญ่ที่มีหลักฐานการอพยพของกลุ่มชนต่างๆ ตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุทธยา อาทิเช่น ชาวมอญ มุสลิม และ ชาวจีน ซึ่งในสมัยนั้นพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่ง “ปลูกพลู” ที่สำคัญในย่านบางไส้ไก่และย่านบางยี่เรือ จนเกิดเป็นตลาดซื้อขายพลูที่ถูกเรียกว่า “ตลาดพลู” มานับแต่นั้น โดยมีการสันนิษฐานว่าชื่อ “ตลาดพลู” มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีโครงการนำร่อง ต่อยอดพัฒยา “ตลาดพลู” เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ที่เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือน เพราะที่นี่ขึ้นชื่อมากในเรื่องของกินที่หลากหลาย ทั้งอาหารจีน อาหารมุสลิม โดยเฉพาะสตีทฟู้ด และ ที่พลาดไม่มี 3 เมนูแนะนำคือ “หมี่กรอบจีนหลี (เต็กเฮง)” ที่สืบทอดกันมาร่วม 100 ปี “ขนมบดิน” ขนมเค้กสูตรโบราณของชาวมุสลิม และ ปิดท้ายด้วย “ขนมกุยช่าย” ซื้อใส่กล่องมานั่งกินระหว่างรอขึ้นรถไฟที่สถานีตลาดพลู เพื่อเดินทางต่อ
อ้างอิง: wikipedia ตลาดพลู | ชิลไปไหน
“วัดไทร เขตจอมทอง” แห่งนี้มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา ซึ่งปรากฎหลักฐาน “ตำหนักทอง” ที่ประทับของพระเจ้าสรรเพ็ชญ์ที่ 8 กษัตริย์องค์ที่ 29 แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาครั้งเสด็จประพาสทางชลมารค ซึ่งคนไทยจะรู้จักพระองค์ท่านในชื่อ “พระเจ้าเสือ” กันเป็นส่วนใหญ่จากบทเรียนทางประวัติศาสตร์ และ เป็นส่วนหนึ่งของ “ประวัติพันท้ายนรสิงห์” ซึ่งถูกนำมาทำเป็นภาพยนต์ที่คนไทยชื่นชอบ
อ้างอิง: Truid เที่ยวัดไหว้พระเจ้าเสือ | wikipedia วัดไทร เขตจอมทอง
หนึ่งในสถานที่ศูนย์รวมใจของคนสมุทรสาครก็คือ เจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งที่นี่มีงานสำคัญของท้องถิ่น ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมืองประจำปี ทางน้ำในช่วงวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินจีน หรือปลายเดือนมิถุนายน แห่ไปตามแม่น้ำท่าจีน โดยเริ่มต้นทางจากตลาดมหาชัยไปทางฝั่งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณาราม และ อัญเชิญต่อไปจนถึงวัดช่องลม
ศาลแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน “เจ้าพ่อวิเชียรโชติ” ซึ่งถูกแกะสลักดวยไม้โพธิ์ มองดูแล้วมีลักษณะคล้ายองค์พระสยามเทวาธิราช ประทับอยู่ในท่ายืนบนเกี้ยวซึ่งถูกแกะสลักอย่างประณีตบรรจง ตามประเพณีนิยมของคนสมุทรสงคราม จะมาทำพิธีสักการะพร้อมจุดประทัด ถัดจากศาลออกไปด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
สำหรับ “ท่าเรือข้ามฟากมหาชัย-ท่าฉลอม” เป็นสถาปัตยกรรมคล้ายหัวลำโพง เป็นรูปทรงโดมสูงโดดเด่นอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน มีคาเฟ่ และ ร้านอาหารวิวสวยติดแม่น้ำให้แวะนั่งชิลล์ก่อนข้ามไปฝั่งท่าฉลอม
อ้างอิง: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย | ประเพณีแห่งเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
“ท่าฉลอม” พื้นที่แห่งประวัติศาสตร์การย้ายฐิ่นฐานอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย ในอดีต “สมุทรสงคราม” ถูกเรียกว่า “ท่าจีน” เนื่องจากมีชาวจีนอพยพมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก มีการค้าขายสินค้าที่เกี่ยวกับอาหารทะเลเกิดขึ้นมากมาย ภายหลังจึงเกิดเป็น “ตลาดมหาชัย” อาทิเช่น การทำประมง ดองปลา ทำกะปิ และ น้ำปลา และ “ตำบลมหาชัย” ซึ่งในสมัยก่อนมีความสำคัญในฐานะเป็นที่ตั้งที่ทำการรัฐบาล ซึ่ง “ท่าฉลอม” เป็นพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นที่อยู่อาศัย และ ย่านการค้าที่สำคัญ
ภายหลัง “ท่าฉลอม” จึงถูกยกฐานะเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศตั้งแต่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้พระราชทานดำริในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ผ่าน “พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116” ดังนั้น เสน่ห์ของการมาเที่ยวท่าฉลอมคือ การได้นั่งสามล้อชมวิถีชุมชนชาวจีน ผ่านตัวละครต่างๆ อาทิเช่น อาคารบ้านเรือน สตีทอาร์ต อาหารการกิน ภาษา และ ศาลเจ้าซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจีนซึ่งต้องจากบ้านเกิดมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่เมืองไทย
อ้างอิง: ข้อมูลเกี่ยวกับท่าเรือข้ามฟาก ท่าฉลอม-มหาชัย ม. รามคำแหง
ย้อนรำลึก 117 ปีตั้งแต่เริ่มเดินรถไฟสายบ้านแหลม-แม่กลอง ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2450 “สถานีรถไฟบ้านแหลม” ณ. ปัจจุบันนี้ ยังคงหลงเหลือกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ให้นักท่องเที่ยวได้เดินหามุมถ่ายรูปสวยๆ ในระหว่างที่รอขบวนรถเที่ยวถัดไป ซึ่งนอกจากบริเวณสถานีแล้ว ยังมีสะพานชมป่าโกงกาง ให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพความสวยงามของบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน
รถไฟสายบ้านแหลม – แม่กลอง เป็นรถไฟสายที่ 6 ของไทย เริ่มเดินรถตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มีระยะทางให้บริการ 33.75 กิโลเมตร รถไฟสายแม่กลอง เป็นรถไฟสายเดียวของไทยที่ไม่เชื่อมต่อกับรถไฟสายใด แม้จะดูเหมือนโดดเดี่ยว แต่ก็โดดเด่น มีอัตลักษณ์ของตัวเอง เพราะหากนักท่องเที่ยวต้องการใช้บริการ ต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อมาเดินทางต่อไปที่แม่กลอง โดยไปรอขึ้นรถไฟที่ “สถานีรถไฟบ้านแหลม” นั่นเอง
อ้างอิง: มติชนออนไลน์
นั่งรถไฟไปตลาดร่มหุบ ควรไปกี่โมง เดินทางไปยังไง ถ้าไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ต้องเดินทางอย่างไร...คลิกเลย
มาถึงแม่กลองแล้ว พักที่ไหนดีไม่ใกลจากตลาดน้ำอัมพวา มีมุมโพสถ่ายรูปเยอะ…ผู้เขียนแนะนำ “ณ ทรีธารา รีสอร์ทริมน้ำ ชวนคุณมาใช้พื้นที่ส่วนตัว นั่งทำงานและท่องเที่ยวในวันธรรมดา”
ณ ทรีธารา มีตัวเลือกที่พักที่ตอบโจทย์ทุกการมาเที่ยวอัมพวา จะมาเดี่ยว มาคู่ มาเป็นครอบครัว หรือ มาเป็นกลุ่ม เพราะเรามีห้องพัก 42 ห้อง วิวสวน วิวสระว่ายน้ำ วิวบ่อน้ำด้านใน มองเห็นวิวแม่น้ำทั้งโดยตรงจากห้อง ระเบียงห้อง และ วิลล่าบ้านพักส่วนตัว 18 หลัง ทั้งวิวสระน้ำ และ วิวน้ำแม่กลอง หากมาพักวันธรรมดา คุณจะมีส่วนลด 10% ทั้งค่าที่พักและ ดินเนอร์ริมน้ำหรูๆ ที่ Mangrove ร้านอาหารและคาเฟ่ริมน้ำ
ตอบโจทย์ผู้เขียน มาเที่ยวด้วย ทำงานไปด้วย ทั้งที่ในห้องพัก ห้องอาหาร และร้านอาหารแมงโกรฟ คาเฟ่ ต่างมีพื้นที่เหมาะๆ ให้นั่งทำงานได้อย่างสบาย หรือ กรณีมาเที่ยวกันเป็นกลุ่ม ก็เรียกใช้บริการห้องประชุม, สัมมนา, อีเว้นท์, กิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งบริเวณภายในห้องจัดเลี้ยงสัมนา และบริเวณภายนอกพื้นที่สนามกลางแจ้งริมน้ำแม่กลอง มีพื้นที่จัดงานหลายแบบ อาทิเช่น
ตอบโจทย์คนที่อยากเปลี่ยนที่นั่งทำงาน ได้งาน ได้เที่ยว เข้าพักได้ในวันอาทิตย์ – พฤหัส พร้อมรับสิทธิพิเศษเมื่อเข้าพักวันธรรมดา
หมายเหตุ: ค่าที่พักอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดสอบถามก่อนทำการจอง
อัมพวา เหมาะเป็นทั้งที่ทำงาน และ ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ ชวนคุณมาใช้พื้นที่ส่วนตัว นั่งทำงานและท่องเที่ยวในวันธรรมดา มาอยู่กับธรรมชาติริมแม่กลอง อากาศดี ที่เที่ยวพักผ่อนใกล้ๆ กับที่พัก เป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวไปพร้อมๆ กันได้