วัดบางกุ้ง มีชื่อเสียงในระดับโลก เพราะเป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ที่นักท่องเที่ยวต้องการไปเยือนสักครั้ง นอกจากมีความเกี่ยวพันธ์กับประวัติศาสตร์การกอบกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว ยังมีโบสถ์มหาอุตม์อายุหลายร้อยปีที่มีต้นโพธิคอยพยุงโครงสร้างปกป้องสิ่งล้ำค่าของวัดไว้นั่นเอง ที่ตั้งของวัดไม่ไกลห่างจาก ตลาดน้ำอัมพวา 11 นาทีโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือ สามารถใช้บริการเรือท่องเที่ยวจากตลาดน้ำอัมพวาเพื่อไปขึ้นท่าน้ำที่วัดบางกุ้ง (พื้นที่เดิมของวัดบางกุ้งใหญ่) ได้เช่นกัน
วัดบางกุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านค่าย หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง จากหลักฐานที่สืบค้นได้ พบว่าวัดถูกสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2250 – 2300 เดิมทีวัดบางกุ้งแบ่งเป็น บางกุ้งใหญ่ และ บางกุ้งน้อย ซึ่งผู้สร้างเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นในปัจจุบัน พื้นที่ของวัดบางกุ้งได้ถูกรวมพื้นที่ทั้งหมดของวัดพี่ วัดน้องไว้
ย้อนไปในสมัยก่อน มีวัดสำคัญอยู่ 3 แห่งที่ถูกก่อสร้างมาในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ วัดโบสถ์ วัดบางกุ้งใหญ่ และ วัดบางกุ้งน้อย
ผู้สร้างวัดโบสถ์ ชื่อทอง เป็นเศรษฐีของหมู่บ้าน ซึ่งจากชื่อที่ปรากฎนั้น พบว่าอาจเกี่ยวข้องกับ คุณนาก หรือ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากบิดาของพระองค์ท่านเป็นเศรษฐีชื่อทอง เช่นเดียวกัน ต่อมาเมื่อวัดโบสถ์ถูกสร้างขึ้น ภรรยาหลวง และ ภรรยาน้อยของเศรษฐีก็ได้สร้างวัดบางกุ้งใหญ่ และ วัดบางกุ้งน้อยตามมา แต่ภายหลัง วัดบางกุ้งน้อยได้ถูกปล่อยรกร้าง เหลือไว้เพียง “อุโบสถปรกโพธิ์” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือด้าน “มหาอุตม์” มาจนปัจจุบัน
ย้อนไปในปี 2531 ขณะนั้น ในบริเวณวัดเต็มไปด้วยป่ารกร้าง แต่คงเป็นเหตุบุญปัจจัยของคนอัมพวา เพราะได้มี “พระวินัยธร องอาจอาริโย” ได้เดินธุดงค์มาปักกรดอยู่ในบริเวณวัดบางกุ้ง ข้างอุโบสถหลวงพ่อนิลมณี หรือโบสถ์ปรกโพธิ์ ขณะเจริญกรรมฐาน ได้นิมิตเห็นผู้หญิงแต่งชุดไทยโบราณมากราบไหว้หลวงพ่อนิลมณีหน้าโบสถ์ปรกโพธิ์เป็นประจำ แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ต่อมาไม่นานเสาคานที่หน้าอุโบสถหล่นตกลงมาพิงอยู่ข้างอุโบสถ คืนต่อมาท่านได้นิมิตเห็นผู้หญิงชุดไทยคนเดิมมาบอกให้นำไม้ท่อนนี้มาไว้ที่หลังอุโบสถแล้วขอให้ช่วยสร้างศาล ท่านก็บอกบุญให้ชาวบ้านช่วยกันนำไม้มาไว้หลังอุโบสถแล้วสร้างศาลให้ ส่วนไม้ท่อนนั้นถูกแกะสลักเป็นรูปหน้าผู้หญิงไม่มีแขนขาไว้ภายในให้ชื่อว่า “ศาลนางไม้เจ้าจอม” ชาวบ้านในระแวกนั้น และ ผู้คนที่ผ่านไปมาให้ความเคารพนับถือกันมาก
ต่อมา พระวินัยธร ได้ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาฟื้นฟูวัดบางกุ้งให้มีความเจริญขึ้นอีกครั้ง ท่านจึงได้เห็นนิมิตผู้หญิงแต่งกายชุดไทยโบราณมาปรากฏในนิมิตอีกได้บอกว่าเป็นองค์หญิงพระนามว่า “เจ้าหญิงมณฑาทิพย์ (แม่หญิงจันทร์เจ้า)” ต้องการให้สลักรูปองค์หญิงจากไม้ต้นโพธิ์ซึ่งมีอายุประมาณ 100 ปี โดยขอร้องให้แกะสลักใหม่ทั้งองค์ แต่เพราะช่างไม่เคยเห็นหน้าตาของเจ้าหญิง จึงไม่สามารถแกะได้ ทำให้พระวินัยธร ลงมือแกะสลักด้วยตัวเอง แล้วสลักอักษรไว้ที่ฐานว่า “เจ้าหญิงมณฑาทิพย์ (แม่หญิงจันทร์เจ้า)”
เหตุการณ์นิมิตของพระวินัยธร ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับหนังสือ “กฎแห่งกรรม” ของคุณ ท.เลียงพิบูรณ์ที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าหญิงมณฑาทิพย์ ซึ่งมีรูปลักษณะเช่นเดียวกับที่ท่านเห็นในนิมิต ทำให้ถูกตีความไปว่าน่าจะเป็นองค์เดียวกัน
เจ้าหญิงมณฑาทิพย์ เป็นพระธิดาของ กรมหลวงบวรวัง ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ จากการเรียนรู้ฝึกฝน ทำให้ทรงมีความสามารถด้านวิชาอาคม ฟันดาบ กระบี่กระบอง หมัดมวย ตำราพิชัยสงคราม เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกพม่ายกกองทัพประชิดเมือง พระบิดาของท่านทรงสั่งให้หลบหนีออกจากกรุงฯ พร้อมบ่าวไพร่ราว 300 คน อาวุธโธปกรณ์ ในระหว่างที่ได้เดินทางหลบหนีอยู่นั้น ได้พบกับกองเรือขนกระสุนดินดำของพม่า ท่านและบ่าวไพร่จึงได้ร่วมกันเข้าทำลายจนหมดสิ้น ภายหลังจากรอนแรมมาหลายวันจึงได้มาตั้งบ้านเมืองเล็ก ๆ อยู่ เมื่อคราวศึกบางกุ้ง เจ้าหญิงร่วมกับบ่าวไพร่ได้เข้าร่วมทำศึกจนได้รับชัยชนะ
หมายเหตุ: ประวัติของเจ้าหญิงมณฑาทิพย์ ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน จึงขอให้ใช้วิจารณญานในการศึกษาข้อมูล
ย้อนเวลากลับไปช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ 2308 เดิมค่ายบางกุ้งเป็นค่ายทหารเรือในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศ ในช่วงเวลานั้นตรงกับสมัยของพระเจ้ามังระ แก่งกรุงอังวะ ให้เกณฑ์กองทัพพม่า ซึ่งนำโดยมังมหานรธา ได้ยกทัพเรือเข้ามาตีค่ายทหารเรือบางกุ้งแตก เพื่อเปิดทางเข้าล้อม ทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310
ต่อมา พระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2310 โปรดให้คนจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวบรวมพลพรรค มาตั้งเป็นกองทหารรักษา ค่ายบางกุ้ง ซึ่งยังไม่มีทหารรักษาการณ์หลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ค่ายนี้จึงเรียกว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง”
ภายหลัง พระเจ้ามังระทราบว่า ฝ่ายไทยมีพระเจ้าตากสินต้องการประกาศอิสระภาพเพื่อกอบกู้เอกราชให้กรุงศรีอยุทธยา จึงได้ส่งกองทัพมา นำโดย แม่ทัพแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวาย คุมกำลังพล 3,000 นายมาตรวจตราสถานการณ์ จึงพบเห็นค่ายบางกุ้ง และ สถานที่แห่งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรบเพื่อรวมชาติในเวลาต่อมา
ที่มาประวัติ: สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรสงคราม โดย พระครูพิทักษ์สมุทรเขต เจ้าอาวาสวัดบางกุ้ง | ไทยรัฐออนไลน์ | Wikipedia | คมชัดลึก
เที่ยววัดบางกุ้ง ค่ายตอนกลางคืน เปิดประสบการณ์เที่ยวอัมพวา วันธรรมดาที่ไม่คุ้นเคย
เพียง 7 นาทีจาก “วัดบางกุ้ง” หลังจากเยือนเส้นทางประวัติศาสตร์การกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ชวนทุกคนมาหาที่พักหรู วิลล่าบ้านเป็นหลัง นั่งทำงาน และ ทานอาหารในบรรยากาศโรแมนติกริมน้ำแม่กลอง “ณ ทรีธารา รีสอร์ทริมน้ำ อัมพวา” ห่างจากตลาดน้ำดำเนินสะดวก และ ตลาดน้ำอัมพวาเพียง 15 นาที มีที่พักวิวสวยริมน้ำแม่กลอง มีทั้งแบบเป็นวิลล่าเป็นหลัง หรือ เป็นห้องพักวิวสระน้ำ เลือกได้ตามใจในราคาที่ลดพิเศษ 10% – 20% พร้อมอาหารเช้า…สำรองที่พัก จองตรงถูกกว่า คลิกเลย
อยากเที่ยว ไม่ต้องรอวันหยุด!…การทำงานเชิงท่องเที่ยว (Workation) เป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวไปพร้อมๆ กัน โดยคุณไม่ต้องรอวันหยุดสุดสัปดาห์แล้วค่อยออกเที่ยวอีกต่อไป และ ที่ ณ ทรีธารา เสมือนเป็นจุดเชื่อมต่อของทั้ง อัมพวา และ ดำเนินสะดวก ด้วยระยะทางจากที่พักห่างเท่ากัน ทั้งที่เที่ยว และ ที่พักใกล้กรุงเทพ สัมผัสชีวิตริมน้ำ ธรรมชาติที่ยังคงความสมบูรณ์ วิถีชีวิตริมสองฝั่งคลองที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ให้นักท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ศึกษาได้อีกมากมาย…พบกันที่ ณ ทรีธารา
034-751-335 | | | คลิกเลย…สำรองที่พักวันธรรมดาลด 10% พร้อมอาหารเช้า